Free Grab Delivery Free Grab Delivery in BKK                     Star RatingStar RatingStar RatingStar RatingStar Rating 4.9/5 Based on 100+ Reviews                     Add us on LINE @bloom.asia (Mon-Sun, 10am - 7pm)

Free Grab DeliveryFree Grab Delivery in Bangkok

4 กัญชาไทย รอลงรายชื่อเป็นสายพันธุ์กัญชามรดกชาติ

นับตั้งแต่ที่มีการแก้ไขกฎหมายกัญชาในประเทศไทย ประชาชนก็เริ่มหันมาสนใจและอยากรู้จักกับพืชชนิดนี้กันมากขึ้น และทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ก็กำลังเริ่มสนับสนุนส่งเสริมงานวิจัยและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศในการศึกษาพืชชนิดนี้

ด้วยเหตุนี้เองจึงก่อให้การพัฒนาสายพันธุ์กัญชา 4 สายพันธุ์ เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมกัญชาการแพทย์ ประกอบกับต้องการสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยได้รับประโยชน์จากกัญชาอย่างเต็มที่ และเรื่องที่น่าสนใจก็คือ สายพันธุ์กัญชาเหล่านี้ปลูกกันแบบพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการเกษตรในท้องถิ่น และลดการพึ่งพาการนำเข้ากัญชาจากต่างประเทศ

สายพันธุ์กัญชาดังกล่าวจะถูกเพิ่มลงในรายชื่อมรดกชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ

  • กระตุ้นการท่องเที่ยว
  • สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรท้องถิ่น
  • เพื่อการวิจัยทางการแพทย์

4 สายพันธุ์กัญชาที่ผ่านการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนมรดกชาติ

องค์การอาหารและยา (FDA) ได้อนุมัติให้ประชาชนสามารถปลูกกัญชา 4 สายพันธุ์นี้ได้ทั่วประเทศ อีกทั้งยังสามารถส่งต่อให้กับสถาบันวิจัยพืชสมุนไพร ภายใต้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อนำไปศึกษาวิจัยต่อได้อีกด้วย

กัญชาแต่ละสายพันธุ์มีอัตราส่วนของ THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol) ที่แตกต่างกันออกไป โดยความหลากหลายของสารดังกล่าวจะมอบประสิทธิภาพในการดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างครบถ้วน

ตัวอย่างเช่น สายพันธุ์ TT1 จะมีปริมาณสาร THC มากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และเป็นสายพันธุ์ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ในขณะที่ ST1 จะมีปริมาณสาร THC และ CBD พอ ๆ กัน แต่สายพันธุ์ RD1 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีสาร CBD ในปริมาณที่สูงกว่าสาร THC

4 สายพันธุ์กัญชาที่ผ่านการอนุมัติจากรัฐบาลให้ขึ้นเป็นมรดกชาติ มีดังนี้

สายพันธุ์หางกระรอกภูพาน ST1

สายพันธุ์กัญชา Hang Kra Rog Phu Phan ST1

ลักษณะของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกภูพานนั้นมีช่อดอกขนาดใหญ่เป็นพวงเหมือนหางกระรอก ซึ่งชื่อสายพันธุ์เองก็ตั้งตามลักษณะที่เหมือน ‘หางกระรอก’ นี้ สายพันธุ์นี้มอบกลิ่นหอมคล้ายมะม่วง แต่ไม่ฉุนมาก มีสาร CBD และ THC ในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน

สายพันธุ์หางเสือสกลนคร TT1

Hang Suea Sakon Nakhon TT1

กัญชาสายพันธุ์หางเสือสกลนครนี้มีลักษณะของช่อดอกเรียวยาวเหมือนหางเสือ สายพันธุ์กัญชาหางเสือนี้มอบกลิ่นคล้ายเปลือกส้มที่มีความฉุนเล็กน้อย กัญชาหางเสือสกลนคร TT1 มีปริมาณของสาร THC มากกว่า CBD

สายพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว WA1

Tanaosri Kan Khaw WA1

ตะนาวศรีก้านขาวมีลักษระดอกกระจุกตัวกันแน่น มอบกลิ่นคล้ายเปลือกส้มผสมกับกลิ่นหอมของตะไคร้ สายพันธุ์กัญชานี้มีความเหมือนกันกับสายพันธุ์ TT1 ตรงที่มีปริมาณ THC มากกว่า แต่มีกลิ่นฉุนน้อยกว่าสายพันธุ์ TT1

สายพันธุ์ตะนาวสีก้านแดง RD1

Tanaosri Kan Daeng RD1

ตะนาวศรีก้านแดงมีลักษณะคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ WA1 แต่มีกิ่ง ลำต้น และก้านใบเป็นสีแดง มาพร้อมกับกลิ่นหอมหวานและไม่ฉุน มีปริมาณสาร CBD มากกว่า THC ทำให้ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทน้อยที่สุดในบรรดา 4 สายพันธุ์ทั้งหมด

เมื่อเทียบเทียบกับฐานข้อมูลกัญชาทั่วโลกแล้ว พบว่า สายพันธุ์เหล่านี้มีการปลูกเฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้น

ทางกรมการแพทย์กำลังดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์เหล่านี้ว่ามอบคุณประโยชน์และมีสรรพคุณใดต่อร่างกายบ้าง ผ่านการร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

เปิดเส้นทางสร้างรายได้ที่สดใสในอนาคต

ดูเหมือนว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศเดียวในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของพืชกัญชา

อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า:

“กัญชาคือสิ่งที่จะสร้างประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย และช่วยเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรได้มีการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งจะเป็นการลดดุลการค้ากับประเทศอื่น ๆ ด้วย”

นอกจากนี้ อ้างอิงจากรายงาน Asia Cannabis Report มีการคาดการณ์ว่าตลาดกัญชาไทยจะมีมูลค่าแตะ 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการเปิดกฎหมายกัญชาทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ CBD ถือเป็นสินค้าดาวรุ่งในท้องตลาด หากกฎหมายการใช้กัญชาเพื่อความผ่อนคลายถูกปรับเปลี่ยนให้ถูกกฎหมายเพิ่มไปด้วย จะมีโอกาสสูงมาก ๆ ที่ตัวเลขมูลค่าอาจจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมกัญชา จนถึงขนาดที่มีแผนจะเพิ่มกัญชาไทยเข้าสู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก

ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางกัญชาแห่งทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไม่ช้านี้…

×