ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์: ECS คืออะไร และมีการทำงานอย่างไร
หากคุณเป็นมือใหม่ต่อวงการกัญชา คุณอาจจะคุ้น ๆ กับคำว่า ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (ECS) แต่อาจยังไม่รู้อย่างถ่องแท้ว่า ECS คืออะไร และทำงานอย่างไรเมื่อร่างกายได้รับสารกัญชา ในบทความนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับระบบการทำงานนี้ไปพร้อม ๆ กัน
การวิจัยสมัยใหม่เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ
ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (ECS) ถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงปี 1990 จากนักวิจัยที่พยายามศึกษาผลกระทบของสาร THC หลังจากนั้นเรื่อยมาระบบ ECS ก็ได้กลายเป็นหัวข้อฮอตฮิตสำหรับงานวิจ้ย สาเหตุหลักก็เพราะระบบนี้คือตัวที่ช่วยให้กัญชามีปฏิกิริยาต่อร่างกายของเรา
สรรพคุณด้านสุขภาพต่าง ๆ ที่เรารู้เกี่ยวกับกัญชา ไม่ว่าจะเป็นจากสาร THC หรือ CBD ก็ตาม ทั้งหมดล้วนแล้วเกิดขึ้นได้จากความช่วยเหลือจากระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ทั้งนั้น
การเข้าใจในระบบเอนโดแคนนาบินอยด์อย่างถ่องแท้ คือหัวใจสำคัญในการรับประโยชน์สูงสุดจากกัญชา
ระบบ ECS คืออะไร?
ECS คืออะไร? คำตอบคือ เป็นระบบชีวภาพที่คอยส่งสัญญาณให้เซลล์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมกระบวนการทำงานในร่างกาย เช่น การนอนหลับ ความทรงจำ ความเจ็บปวด อาการเจ็บปวด ภูมิคุ้มกัน อนามัยการเจริญพันธุ์ ความอยากอาหาร ฯลฯ โดยระบบนี้จะมีอยู่ทั่วร่างกายและมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของเรา
ระบบนี้มีอยู่ 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่
1. เอนโดแคนนาบินอยด์
เป็นสารแคนนาบินอยด์ที่ผลิตในร่างกายของเราเมื่อต้องการใช้งาน คำว่า ‘เอนโด’ มีความหมายว่า ‘ภายใน’ ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ แคนนาบินอยด์ก็คือสารสื่อประสาทที่ส่งข้อความทางเคมีระหว่างเซลล์ประสาทในร่างกายของเรา
เอนโดแคนนาบินอยด์มีโครงสร้างคล้าย ๆ กับแคนนาบินอยด์ที่พบในกัญชา เป็นสาเหตุว่าทำไมกัญชาจึงส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราได้มากขนาดนี้ โมเลกุลเหล่านี้มีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกายหลายอย่าง เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหล
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเอนโดแคนนาบินอยด์อยู่ 2 ประเภท ได้แก่
- Anandamide: มาจากคำในภาษาสันสกฤต ‘อนันดา’ ที่หมายความว่า ‘ความสุขสบายใจ’ และเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งคือ “โมเลกุลแห่งความสุข” และเชื่อว่าเอนโดแคนนาบินอยด์นี้สามารถบรรเทาการตอบสนองต่อความเจ็บปวดได้ ความรู้สึกที่ได้จะเหมือนกับการกินช็อกโกแลตหลังจากที่อยากมานาน
- 2-arachidonoylglyerol (2-AG) เป็นเอนโดแคนนาบินอยด์ที่พบได้มากที่สุดในร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องในการต้านการอักเสบเป็นหลัก
2. ตัวรับเอนโดแคนนาบินอยด์
เอนโดแคนนาบินอยด์ทำงานโดยจับกับตัวรับพิเศษที่มีอยู่ทั่วร่างกาย เมื่อแคนนาบินอยด์จับกับตัวรับพวกนั้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการส่งสัญญาณไปหาระบบ ECS ให้ทำงานต่อไป
ตัวรับเอนโดแคนนาบินอยด์หลัก ๆ มีอยู่ 2 ตัว ได้แก่
- CB1: ตัวรับนี้มีอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ได้แก่ สมองและไขสันหลัง
- CB2: มีอยู่ในระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ แขนขา อวัยวะ และเซลล์ภูมิคุ้มกัน
เอนโดแคนนาบินอยด์สามารถไปเกาะกับตัวรับได้ทั้ง 2 ตัว ผลลัพธ์ที่ได้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวรับ และขึ้นอยู่กับว่าเอนโดแคนนาบินอยด์จะไปเกาะอยู่กับตัวไหนด้วย
3. เอนไซม์
เอนไซม์มีส่วนรับผิดชอบในเรื่องของการผลิตและการแตกตัวของเอนโดแคนนาบินอยด์หลังจากที่ทำตามหน้าที่เสร็จแล้ว ในขั้นตอนนี้มีเอนไซม์หลักอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ได้แก่
- Fatty acid amide hydrolase ซึ่งจะคอยแตกตัว Anandamide
- Monoacylglycerol acid lipase ซึ่งจะคอยแตกตัว 2-AG
ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ทำงานอย่างไร?
ร่างกายของเราผลิตเอนโดแคนนาบินอยด์เป็นปกติอยู่แล้ว และจะทำงานเฉพาะเมื่อจับกับตัวรับแล้วเท่านั้น
หลักการทำงานอย่างละเอียดนั้นยังคงเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้เราเข้าใจว่าเมื่อร่างกายขาดสมดุลหรือความสมดุลภายในถูกรบกวน ระบบนี้จะออกมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ตัวอย่างเช่น หากอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากปัญหาภายนอก เช่น การบาดเจ็บ ความเครียด ฯลฯ ระบบ ECS จะเข้ามาทำงานเพื่อช่วยให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ (ระบบโฮมีโอสเตซิส) ในทำนองเดียวกัน ระบบ ECS จะดูแลเรื่องการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้รับความเจ็บปวดผ่านทางตัวรับ CB2
หน้าที่ของระบบเอนโดแคนนาบินอยด์
หน้าที่หลักของระบบ ECS คือการรักษาสภาวะโฮมีโอสเตซิสในร่างกายให้เป็นปกติ โฮมีโอสเตซิสเป็นความเสถียรภายในร่างกายที่เกิดขึ้นจากการปรับสภาวะให้เหมาะสมต่อการมีชีวิตรอดต่อไป ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสภาวะสมดุลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางชีวภาพและทางเคมีนับล้านขั้นตอนในร่างกาย
สาร ECS ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตัวควบคุมหลักทำให้สามารถอยู่ในสภาวะโฮมีโอสเตซิสต่อไปได้ อีกทั้งยังทำหน้าที่คอยสอดส่องสิ่งเร้าจากทั้งภายในและภายนอกเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการทำงาน
ลองจินตนาการง่าย ๆ ว่าระบบ ECS เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยที่ร่างกายเป็นเครื่องบิน เมื่อใดก็ตามที่เครื่องบินเกิดความขัดข้อง เครื่องยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติก็จะเข้ามาทำให้การเดินทางเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นและไม่มีการขัดข้องใดๆ
ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น
- การนอนหลับและอารมณ์
- การตอบสนองและการอักเสบต่อความเจ็บปวด
- ระบบภูมิคุ้มกันและการควบคุมอุณหภูมิ
- การสืบพันธุ์
- ระบบเผาผลาญ ความอยากอาหาร และการย่อยอาหาร
- การตอบสนองต่อความเครียด
- ความทรงจำและการเรียนรู้
การใช้กัญชา ช่วยอะไรต่อร่างกายและจิตใจได้บ้าง?
พืชกัญชามีสารแคนนาบินอยด์กว่า 100 ชนิด แต่มีแค่ 2 ชนิดเท่านั้นที่เราต่างให้ความสนใจ คือ THC และ CBD
THC จะ “เข้าควบคุมร่างกาย” ด้วยการจับกับตัวรับ CB1 และ CB2 เนื่องจากตัวรับ CB1 มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง และจะทำให้รู้สึก ‘มึนเมา’ ตามด้วยอาการหัวเราะร่า มีความสุข หวาดระแวง รับรู้เรื่องเวลาได้ช้า ความจำไม่ดี ฯลฯ ในขณะเดียวกัน สาร THC ก็มีคุณสมบัติในการช่วยเรื่องการบรรเทาความเจ็บปวด กระตุ้นการนอนหลับ และความอยากอาหาร อีกทั้งยังช่วยรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่มาจากการทำเคมีบำบัด และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้
ส่วนสาร CBD นั้นไม่ได้ทำให้รู้สึกมึนเมา และไม่มีข้อเสียเหมือน THC ซึ่งในตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า CBD มีปฏิกิริยาต่อระบบเอนโดแคนนาบินอยด์อย่างไร แต่ในปัจุบันเราทราบแล้วว่า CBD จะไม่ไปจับกับตัวรับเหมือนกับ THC
แต่ว่ากันว่าสาร CBD สามารถป้องกันการแตกตัวของเอนโดแคนนาบินอยด์ ทำให้สามารถส่งต่อทั่วร่างกายได้อิสระมากขึ้น ตัวอย่างเช่น CBD ช่วยป้องกัน Anandamide ไม่ให้มีการสังเคราะห์จากเอนไซม์ ส่งผลให้ระดับโมเลกุลแห่งความสุขเพิ่มขึ้นในร่างกาย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสงบมากขึ้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสรรพคุณของสาร CBD
บทสรุป
ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต หากขาดไปอาจทำให้ความสมดุลภายในร่างกายหายไป และเราจะอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอกเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ECS ยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุมการทำงานที่สำคัญภายในร่างกายอีกหลายอย่าง
นักวิทศาสตร์ยังคงศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ECS อย่างต่อเนื่อง และยังมีอีกหลายเรื่องที่เรายังไม่ได้เข้าใจอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยิ่งเราเข้าใจเรื่องนี้มากเท่าไหร่ การรักษาหลาย ๆ โรคก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
ตามทฤษฎีแล้ว เราสามารถใช้กัญชาเพื่อช่วยให้ระบบ ECS ทำงานได้ดีขึ้น เราแนะนำให้คุณใช้ผลิตภัณฑ์ CBD เช่น น้ำมัน CBD เนื่องจากไม่ทำให้คุณมึนเมา แถมยังทำให้คุณได้สัมผัสกับสรรพคุณของพืชกัญชาได้อย่างเต็มที่อีกด้วย