Free Grab Delivery Free Grab Delivery in BKK                     Star Rating Star Rating Star Rating Star Rating Star Rating 4.9/5 Based on 100+ Reviews                     Add us on LINE @bloom.asia (Mon-Sun, 10am - 7pm)

Free Grab DeliveryFree Grab Delivery in Bangkok

ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้

Contents

THC คืออะไร และมีองค์ประกอบทางเคมีอย่างไรบ้าง

THC เป็นตัวย่อมาจากชื่อเต็มว่า delta-9-tetrahydrocannabinol ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่พบได้มากในพืชกัญชา เป็นสารที่ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มมึนเมา หรือในศัพท์ชาวสายเขียวที่เรียกว่า “ไฮ” นั่นเอง ในเชิงเคมี สาร THC เป็นสาร cannabinoid ที่เป็นกลุ่มของสารประกอบซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับตัวรับในสมองและร่างกาย โครงสร้างทางเคมีของ THC มีสูตรโมเลกุลคือ C21H30O2 และมีน้ำหนักโมเลกุลอยู่ที่ 314.46 กรัม/โมล ลักษณะโครงสร้างเชิงเคมีจะมีลักษณะเป็นวงแหวนไซโคลเฮกซีนที่มีพันธะคู่ และโซ่ด้านข้างที่มีหมู่เมทิลที่อะตอมของคาร์บอนตัวที่ 3  โครงสร้างทางเคมีรูปแบบนี้จะไปจับกับตัวรับเฉพาะในสมองเท่านั้นและจะไปสร้างเอฟเฟกต์และผลลัพธ์ที่ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มมึนเมา

ปริมาณของ THC ในกัญชาอาจมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกัญชาแต่ละสายพันธุ์ สภาพการปลูก และวิธีการแปรรูป แต่โดยทั่วไปแล้ว ความเข้มข้นของ THC ในกัญชาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 5-30%

สาร THC

ปฏิกิริยาของสาร THC ที่มีต่อร่างกาย

THC ในกัญชามีปฏิกิริยาโต้ตอบกับร่างกายโดยการไปจับและไปกระตุ้นที่ตัวรับเฉพาะในสมองและร่างกาย (ตัวรับเหล่านี้จะประกอบกันเป็นระบบที่เรียกว่าเอนโดแคนนาบินอยด์) โดยตัวรับสาร cannabinoid ในร่างกายหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ตัวรับ CB1 และตัวรับ CB2

  • ตัวรับ CB1 ส่วนใหญ่พบในสมองและระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อ THC ไปจับกับตัวรับ CB1 นี้ก็จะสามารถสร้างเอฟเฟกต์ได้หลากหลายอย่าง เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลง ส่งผลถึงการรับรู้ และความอยากอาหารอาจเปลี่ยนไป โดยอาจจะรู้สึกหิวมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจรู้สึกได้ว่าอาการปวดต่าง ๆ ก็เริ่มค่อย ๆ บรรเทาลงด้วย
  • ตัวรับ CB2 ส่วนใหญ่พบในระบบภูมิคุ้มกันและเนื้อเยื่อ เมื่อ THC จับกับตัวรับ CB2 นี้ก็จะสามารถสร้างเอฟเฟกต์ในการช่วยปรับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายและมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบได้

ความแตกต่างระหว่างสาร THC และสารอื่น ๆ ในกัญชา

CBD, CBN, CBG

อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงสงสัยว่า THC จะมีความแตกต่างจากสารกัญชาอื่น ๆ เช่น สาร CBD, CBN และ CBG อย่างไร และมอบประโยชน์และเอฟเฟกต์ต่อร่างกายแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นเลย ต้องทราบกันก่อนว่า THC นั้นเป็นเพียงหนึ่งในสารกว่า 100 ชนิดที่พบได้ในกัญชา โดยสารแคนนาบินอยด์แต่ละชนิดจะมอบผลลัพธ์และเอฟเฟกต์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมอบคุณประโยชน์ที่มีความแตกต่างกัน โดยความแตกต่างระหว่างสาร THC กับสารอื่น ๆ สามารถสรุปได้คร่าว ๆ ดังนี้

  • สาร CBD vs THC: สาร CBD (cannabidiol) แตกต่างจากสาร THC ตรงที่สาร CBD นั้นไม่ส่งผลต่อจิตประสาท และไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกเคลิบเคลิ้มหรือ “ไฮ” แต่เชื่อกันว่ามอบคุณประโยชน์ด้านการรักษาหลายอย่าง เช่น ช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการวิตกกังวล และอาการชัก นอกจากนี้ CBD ยังช่วยบรรเทาเอฟเฟกต์ที่ไม่พึงประสงค์จากการรับ THC เข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย
  • สาร CBN vs THC: สาร CBN (cannabinol) เป็นสาร cannabinoid ที่เกิดจากการที่สาร THC ออกซิไดซ์เมื่อถูกทิ้งไว้เป็นเวลานาน เชื่อกันว่ามีผลในเรื่องของการกดประสาท จึงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหานอนไม่หลับ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบได้ดี
  • สาร CBG vs THC: สาร CBG (cannabigerol) เป็นสาร cannabinoid ที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท จึงมีประโยชน์ในการลดการอักเสบ บรรเทาความวิตกกังวล และลดความเจ็บปวดต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย และอาจเป็นประโยชน์สำหรับการรักษาในอาการต่าง ๆ เช่น โรคโครห์นและโรคต้อหิน เป็นต้น

THC ทำปฏิกิริยากับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายอย่างไร

THC จะไปมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายมนุษย์เรา โดยหลัก ๆ แล้ว THC จะไปจับและไปกระตุ้นกับตัวรับจำเพาะที่พบได้ในสมองและร่างกาย 

ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์เป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนที่ประกอบไปด้วยตัวรับเอนไซม์ และเอนโดแคนนาบินอยด์ (ทั้งสารแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายผลิต หรือสารที่ได้รับจากการใช้กัญชา) และมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาในร่างกายมนุษย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความอยากอาหาร ความรู้สึกเจ็บปวด การอักเสบ และการทำงานของภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

ตัวรับ cannabinoid หลัก ๆ 2 ตัวในระบบ endocannabinoid คือ ตัวรับ CB1 และ CB2 ตัวรับ CB1 ส่วนใหญ่พบในสมองและระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนตัวรับ CB2 ส่วนใหญ่พบในเซลล์ภูมิคุ้มกันและเนื้อเยื่อรอบข้าง เมื่อสาร THC เข้าสู่ร่างกาย มันจะจับกับตัวรับ CB1 ในสมอง ทำให้เกิดผลลัพธ์ต่อจิตประสาท เช่น การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การรับรู้ และความอยากอาหาร นอกจากนี้ THC ยังมีศักยภาพในการไปปรับระบบสารสื่อประสาทอื่น ๆ ในสมอง เช่น ระบบโดปามีนและเซโรโทนิน

นอกจากปฏิกิริยาต่อตัวรับ CB1 แล้ว THC ยังสามารถไปจับกับตัวรับ CB2 ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานของภูมิคุ้มกันและการป้องกันการอักเสบ THC จะมีปฏิสัมพันธ์กับตัวรับ CB2 และมอบผลลัพธ์ในการต้านการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้

ตัวรับ Endocannabinoid และเส้นทางการส่งสัญญาณ

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่าระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ประกอบด้วยตัวรับหลัก 2 ตัว คือ ตัวรับ CB1 และ CB2 โดยตัวรับเหล่านี้สามารถพบได้ทั่วร่างกาย รวมทั้งในสมอง ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และอวัยวะต่าง ๆ

ตัวรับ CB1 ที่พบได้ในระบบประสาทส่วนกลางมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการปลดปล่อยสารสื่อประสาทและควบคุมสามารถในการปรับตัวของระบบประสาทต่าง ๆ เมื่อระบบนี้ถูกกระตุ้นให้เปิดการใช้งานโดยสารเอนโดแคนนาบินอยด์หรือไฟโตแคนนาบินอยด์ เช่น THC ตัวรับ CB1 นี้จะไปยับยั้งการปลดปล่อยสารสื่อประสาท เช่น กลูตาเมต กาบา และโดปามีน ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์และเอฟเฟกต์ต่าง ๆ ต่ออารมณ์ ความรู้ความเข้าใจ และการทำงานของร่างกาย เป็นต้น

ส่วนตัวรับ CB2 ที่พบได้ในเซลล์ภูมิคุ้มกันและเนื้อเยื่อนั้นมีบทบาทในการลดการอักเสบและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อถูกกระตุ้นให้เปิดการใช้งานโดยสารเอนโดแคนนาบินอยด์หรือไฟโตแคนนาบินอยด์ ตัวรับ CB2 นี้จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกัน ทำให้เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคบางอย่าง เช่น ความผิดปกติของภูมิต้านทาน และอาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น

การส่งสัญญาณของเอนโดแคนนาบินอยด์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับการผลิตและการปล่อยเอนโดแคนนาบินอยด์ (แคนนาบินอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ) เช่น อะนันดาไมด์และ 2-อาราชิโดนอยล์กลีเซอรอล (2-AG) ซึ่งจะไปจับและกระตุ้นตัวรับ CB1 และ CB2 เอ็นโดแคนนาบินอยด์จะถูกผลิตขึ้นเพื่อสนองความต้องการและตอบสนองต่อสัญญาณทางสรีรวิทยา เช่น ความเจ็บปวด ความเครียด หรือการอักเสบ และจะถูกสลายไปอย่างรวดเร็วโดยเอนไซม์เพื่อป้องกันการกระตุ้นของระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ที่มากเกินไป

ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ยังมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเส้นทางการส่งสัญญาณอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบโอปิออยด์ ระบบโดปามีน และระบบเซโรโทนิน ซึ่งจะไปส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความเจ็บปวด และกระบวนการทางสรีรวิทยาอื่น ๆ

สาร THC มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างไร

benefit of thc

THC หรือ tetrahydrocannabinol เป็นสาร cannabinoid ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มมึนเมาจนทำให้ถูกแบนในหลาย ๆ ประเทศ แต่จากการศึกษาวิจัยค้นพบว่า THC นั้นก็มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นเดียวกัน ดังนี้

ลดอาการปวดเรื้อรัง

THC ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง จึงเป็นทางเลือกทางการแพทย์ในการรักษาอาการต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง และอาการปวดเส้นประสาท โดยสาร THC ทำงานโดยการมีปฏิกิริยาต่อระบบเอนโดแคนนาบินอยด์และเส้นทางสัญญาณประสาทอื่น ๆ ในร่างกายเพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวด นอกจากนี้ THC ยังสามารถช่วยเพิ่มผลลัพธ์ในการบรรเทาอาการปวดจากการใช้ cannabinoids อื่น ๆ เช่น สาร CBD ได้อีกด้วย

กระตุ้นความอยากอาหาร

THC ถูกใช้เพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร และถูกใช้เป็นทางเลือกในการรักษาภาวะเบื่ออาหารหรือน้ำหนักลดจากปัจจัยต่าง ๆ สาร THC ทำงานโดยการโต้ตอบกับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในสมองเพื่อเพิ่มความหิวและกระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้บุคคลที่มีความผิดปกติในการทานอาหาร เช่น โรคคลั่งผอม สามารถทานอาหารได้มากขึ้น

บรรเทาอาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า

สาร THC กลายมาเป็นตัวเลือกในการรักษาในผู้ที่มีความวิตกกังวลและผู้ที่กำลังเผชิญภาวะซึมเศร้า โดยสาร THC จะไปทำปฏิกิริยาในการส่งสัญญาณประสาทเพื่อเพิ่มระดับความพร้อมของสารสื่อประสาท เช่น สารโดปามีนและเซโรโทนิน ซึ่งสารเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก นอกจากนี้ THC ยังอาจช่วยลดความวิตกกังวลได้โดยการมีปฏิกิริยาในสมองส่วนอะมิกดะลา ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการตอบสนองต่อความกลัวและความวิตกกังวล

ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

เราจะเห็นกันบ่อย ๆ ว่าศิลปินหรือนักดนตรีฝั่งตะวันตกมักจะสูบกัญชากันก่อนเล่นดนตรี หรือทำงานใด ๆ ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์กัน นั่นเป็นเพราะว่า THC สามารถเพิ่มความสามารถในการเชื่อมโยงความคิดและไอเดียต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ทำให้สามารถทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการใช้สาร THC

ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้

ถึงแม้ว่า THC จะมอบคุณประโยชน์ต่อสุขภาพได้มากมาย แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการใช้ THC เพราะการใช้สาร THC อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้หลายอย่าง และหากใช้ในปริมาณที่สูงขึ้นก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงมากขึ้น โดยอาการและผลข้างเคียงหลังใช้สาร THC ที่พบได้บ่อย ๆ มีดังนี้

ผลข้างเคียงระยะสั้น: ปากแห้ง ตาแห้ง การเคลื่อนไหวบกพร่อง

อาการปากแห้งเกิดขึ้นเมื่อ THC ทำปฏิกิริยากับต่อมน้ำลาย ทำให้การผลิตน้ำลายลดลง สามารถแก้ได้ด้วยการดื่มน้ำเยอะ ๆ ส่วนอาการตาแดงเกิดจากสาร THC ไปขยายหลอดเลือดในดวงตา ทำให้เลือดไหลเวียนมากขึ้นและทำให้ตาดูเป็นสีแดง แก้ได้ด้วยการใช้ยาหยอดตา แต่สำหรับการเคลื่อนไหวที่บกพร่องนั้น สาร THC จะไปออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาท ทำให้ความสมดุลและการประสานงานของร่างกายทำได้ไม่ดี อาการเหล่านี้จะหายไปได้เองหลังฤทธิ์ของ THC ในร่างกายเริ่มสลายไป

ผลข้างเคียงระยะยาว: ปัญหาระบบทางเดินหายใจ การเสพติด และปัญหาสุขภาพจิต

ผลข้างเคียงระยะสั้นของการใช้ THC นั้นไม่มีความรุนแรงและสามารถหายไปได้เอง แต่การใช้ THC ในปริมาณมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ สามารถไปเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการสูบจะต้องผ่านความร้อนในการเผาไหม้กัญชาซึ่งอาจทำให้ปอดถูกทำลายและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในปอดได้ นอกจากนี้ ยังอาจนำไปสู่การเสพติดในบางคนจนมีอาการถอนยาได้ เช่น หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ และเบื่ออาหารเมื่อหยุดใช้ 

การใช้ THC ในระยะยาวยังเสี่ยงที่จะไปเพิ่มปัญหาสุขภาพจิตได้ ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ค่อนข้างอ่อนไหวกับสารชนิดนี้

ความเสี่ยงจากการใช้ขณะตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร

การใช้ THC ในระหว่างตั้งครรภ์และหรือในช่วงให้นมบุตรเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากสาร THC สามารถข้ามผ่านรกและส่งต่อไปยังทารกในครรภ์หรือผ่านน้ำนมของแม่ได้ การใช้ THC ในระหว่างตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะทำให้น้ำหนักแรกเกิดของเด็กต่ำกว่าเกณฑ์ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด และอาจเป็นสาเหตุของปัญหาพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ 

ส่วนการใช้ THC ในระหว่างการให้นมบุตรอาจนำไปสู่การสัมผัสสาร THC ในทารกผ่านน้ำนมแม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของสมองและนำไปสู่ความบกพร่องทางสติปัญญาและปัญหาพฤติกรรมในภายหลัง

ผลกระทบจากการใช้สาร THC ก่อนหรือระหว่างขับรถ

การใช้ THC ก่อนหรือระหว่างขับรถเป็นสิ่งต้องห้ามที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งคัด เนื่องจาก THC จะไปลดความสามารถในการขับขี่และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ การใช้ THC อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง ตอบสนองได้ช้าลง และการรับรู้เวลาและระยะทางเปลี่ยนไป นอกจากนี้ ยังอาจไปบั่นทอนวิจารณญาณและความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงหรือประมาทเลินเล่อบนท้องถนนได้

การศึกษาพบว่าการขับรถภายใต้ฤทธิ์ของ THC จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ขับขี่ที่ไม่มีประสบการณ์ ดังนั้น แนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือใช้งานเครื่องจักรหนักในขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์ของกัญชา

วิธีใช้ THC อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ

การใช้กัญชาอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบควรเริ่มด้วยปริมาณความเข้มข้นของสารน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหากต้องการ เนื่องจากสารอาจมอบผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงในการใช้ปริมาณมาก ๆ นอกจากนี้ การใช้ THC ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะดวกสบายจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความวิตกกังวลหรือผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชาได้

เคล็ดลับการใช้ THC อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

สำหรับการใช้กัญชาอย่างปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพสูงสุดอาจต้องอาศัยเคล็ดลับและประสบการณ์เล็กน้อย แต่หากคุณผู้อ่านยังเป็นมือใหม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเคล็ดลับในการใช้กัญชาให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย สาามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ร้านที่มีใบอนุญาต เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
  • เริ่มต้นด้วยปริมาณต่ำก่อนและค่อยเพิ่มปริมาณหากต้องการ แทนที่จะใช้จำนวนมากในคราวเดียว
  • หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับสารอื่น ๆ เช่น แอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • ใช้ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะดวกสบายเพื่อป้องกันอาการหวาดระแวง
  • หลีกเลี่ยงการขับขี่หรือใช้งานเครื่องจักรกลขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์ของสาร
  • ปรึกษาแพทย์หากกำลังใช้ยาใด ๆ อยู่ เพราะอาจจำเป็นต้องปรับโดสยาหรือหยุดยาตัวใดตัวหนึ่ง
  • หยุดพักใช้บ้าง เพื่อป้องกันร่างกายคุ้นชินกับสาร

กฎหมายปัจจุบันว่าด้วยเรื่องสาร THC

THC and Legalization

การทำให้กัญชาถูกกฎหมาย รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มี THC เป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศทั่วโลก และปัจจุบันประเทศไทยเราก็ได้ผ่านกฎหมายปลดล็อกกัญชาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ประเทศไทยบ้านเรามีประวัติการใช้กัญชาเป็นยาแผนโบราณมาอย่างยาวนาน กระทั่งมีการออกกฎหมายห้ามใช้และครอบครองกัญชาอย่างเคร่งครัดภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติดของประเทศ จนมาถึงปี 2018 ไทยเราได้กลายเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำให้กัญชาทางการแพทย์ถูกกฎหมาย โดยอนุญาตให้ประชาชนสามารถปลูก ขาย และครอบครองกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ได้ 

กฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้ผู้ป่วยที่มีอาการป่วย เช่น มะเร็ง พาร์กินสัน และลมบ้าหมู สามารถเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้โดยมีใบสั่งยาจากผู้ให้บริการด้านการแพทย์ที่มีใบอนุญาต ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทำให้กัญชาทางการแพทย์ถูกกฎหมายในประเทศไทยถือเป็นก้าวสำคัญในการตระหนักถึงประโยชน์ด้านสุขภาพของพืชกัญชา และเป็นการส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ความเป็นมาของกฎหมายห้ามใช้กัญชาและผลกระทบต่อสังคมที่เกิดขึ้น

การออกกฎหมายห้ามใช้กัญชามีประวัติศาสตร์ยาวนานและค่อนข้างซับซ้อน โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นมักมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การเหยียดเชื้อชาติ และปัญหาด้านสาธารณสุข ต้นกำเนิดของการห้ามใช้กัญชาสืบย้อนไปได้ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อประเทศต่าง ๆ อย่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เริ่มออกกฎหมายให้การใช้และครอบครองกัญชาเป็นอาชญากรรม เนื่องจากความกังวลว่าการใช้กัญชาจะมีความเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรมและการกระทำผิดต่าง ๆ ในช่วงทศวรรษที่ 1930 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เป็นผู้นำในการรณรงค์ต่อต้านการใช้กัญชา โดยได้รับแรงหนุนจากภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ “Reefer Madness” และสร้างความหวาดกลัวต่อชาวเม็กซิกันและชุมชนคนผิวดำเพราะเพียงแค่คนชนชาติเหล่านี้ใช้กัญชา

เมื่อกาลเวลาผ่านไป กฎหมายการห้ามใช้กัญชาได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมีหลายประเทศใช้บทลงโทษทางอาญาที่เข้มงวดสำหรับการใช้และครอบครองกัญชา แต่ผลกระทบของการห้ามใช้กัญชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง โดยนักวิจารณ์ได้โต้แย้งว่าการห้ามใช้กัญชาต่างหากที่จะนำไปสู่การก่ออาชญากรรมในชุมชนชายขอบ รวมทั้งคนผิวสีและกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย และมีส่วนทำให้อาชญากรรมมีอัตราพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ การทำให้กัญชาเป็นอาชญากรยังขัดขวางความตั้งใจในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ทางการแพทย์ และยังส่งผลต่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์กัญชาจากกลุ่มคนที่จำเป็นต้องใช้ในเชิงสุขภาพด้วย

แรงขับเคลื่อนกัญชาถูกกฎหมาย ที่ไหนบ้าง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นในการปฏิรูปกฎหมายกัญชา โดยหลาย ๆ ประเทศได้เริ่มออกกฎหมายใหม่ให้กัญชาสามารถนำมาใช้ทางการแพทย์หรือสันทนาการได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น แคนาดา อุรุกวัย และในหลาย ๆ รัฐในอเมริกา นอกจากนี้ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ จำนวนมากต่างก็ได้เริ่มทยอยลดทอนความเป็นอาชญากรรมในการครอบครองกัญชาลง หรืออย่างน้อยที่สุด คือ เริ่มออกกฎหมายให้สามารถใช้ในทางการแพทย์ได้เท่านั้น

การทำให้กัญชาถูกกฎหมายส่งผลต่อวงการสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยการทำให้กัญชาถูกกฎหมายสามารถลดอาชญากรรมและความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับตลาดมืด สามารถสร้างรายได้จากภาษีให้กับรัฐบาล และสร้างการเข้าถึงการใช้กัญชาได้อย่างปลอดภัยและอยู่ภายใต้การควบคุม ซึ่งถือว่าดีกว่าการห้ามใช้จนทำให้มีการขายกันในตลาดมืด ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยได้

ปัจจุบันการทำกัญชาให้ถูกกฎหมายยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่าหลาย ๆ ประเทศเริ่มที่จะหันมาพิจารณาทำให้กัญชาถูกกฎหมายหรือลดทอนความเป็นอาชญากรรมลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ความท้าทายในกฎหมายกัญชาต่อสาธารณะ

เมื่อมีฝ่ายที่สนับสนุนกฎหมายกัญชา แน่นอนว่าต้องมีฝ่ายที่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชาด้วยเช่นเดียวกัน โดยฝ่ายที่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชาแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชา เช่น การเสพติด ปัญหาการใช้ก่อนหรือขณะขับรถ และปัญหาสุขภาพจิต จนทำให้มีการถกเถียงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการห้ามใช้กัญชาและการทำให้ถูกกฎหมาย ซึ่งเน้นย้ำถึงความซับซ้อนในหลายแง่มุมของนโยบายยาเสพติดในแต่ละประเทศ

การทำให้ THC ที่มีอยู่ในกัญชาถูกกฎหมายนั้นมาพร้อมกับความท้าทายและการโต้แย้งต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการรับรู้ของสาธารณะ เพราะยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมายาวนาน โดยหลายคนยังคงมีทัศนคติเชิงลบและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้กัญชา ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เป็นการยากที่จะเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชนไปสู่การสนับสนุนการใช้กัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย และยังเป็นการยากที่จะส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้กัญชาอีกด้วย

ปัจจุบัน แม้ว่าการทำให้กัญชาถูกกฎหมายจะเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมกัญชา แต่ก็ยังถือว่ามีความท้าทายในการสร้างความมั่นใจว่าอุตสาหกรรมจะได้รับการควบคุมในลักษณะที่ส่งเสริมความปลอดภัย มีการควบคุมคุณภาพ และสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน บวกกับกฎหมายบ้านเราที่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทำให้ภาคธุรกิจยังไม่มั่นใจและยังไม่กล้ากระโดดเข้ามามีส่วนร่วมเล่นร่วมลงทุนในวงการนี้มากนัก

สำรวจตัวเลือกสินค้ากัญชา สินค้า THC พร้อมวิธีการใช้

How to Use THC

แม้กฎหมายกัญชายังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในบ้านเรา แต่หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้กัญชาถูกกฎหมาย ไม่นานหลังจากนั้นเราก็มีโอกาสได้เห็นสินค้ากัญชาที่มีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกัมมี่กัญชา คุกกี้กัญชา คราฟต์โซดาผสมกัญชา น้ำมันกัญชา รวมไปถึงสินค้าดูแลผิวพรรณที่มีส่วนผสมของสารกัญชา เรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้ทำให้เราได้เห็นสินค้าแปลกใหม่น่าสนใจในท้องตลาดได้เป็นอย่างดี

ของกินกัญชา

ของกินกัญชาเป็นตัวเลือกยอดฮิตสำหรับทุก ๆ คน เพราะของกินกัญชาในท้องตลาดมีหลากหลายรูปแบบ การกินอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา สารจะใช้เวลากว่าจะถูกเผาผลาญในตับ ทำให้ความรู้สึกเคลิบเคลิ้มอยู่ได้ยาวนานกว่าการสูบแบบธรรมดา โดยของกินกัญชาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังทานเข้าไปแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง และฤทธิ์จะอยู่ได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมงแล้วแต่บุคคล

น้ำมันกัญชา

น้ำมันกัญชา คือ สารสกัดกัญชารูปแบบของเหลวเข้มข้นที่สามารถใช้หยดใต้ลิ้นหรือเติมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มได้  การใช้น้ำมันกัญชาควรเริ่มด้วยปริมาณน้อย ๆ และรออย่างน้อย 1 ชั่วโมง ผลลัพธ์จะสามารถรู้สึกได้ภายใน 15-45 นาที

น้ำมันกัญชาสามารถใช้อมใต้ลิ้นได้และจะดูดซึมผ่านเส้นเลือดในช่องปาก วิธีการใช้นี้ทำให้สามารถดูดซึมสารได้เร็วและร่างกายสามารถนำไปใช้ได้แม่นยำขึ้น 

การสูบหรือการใช้เครื่องเวเปอร์ไรเซอร์

การสูบจะช่วยให้สารออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และยังสามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่าย แต่ทั้งนี้ก็ยังส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการเผาไหม้ได้ สำหรับการใช้เครื่องเวเปอร์ไรเซอร์นั้นจะเป็นการใช้อุปกรณ์ซึ่งข้อดีคือสามารถควบคุมอุณหภูมิขณะสูบได้ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อปอดมากนักเหมือนกับการสูบโดยทั่ว ๆ ไป

สาร THC ในกัญชาทำไมใช้แล้วติด

การใช้กัญชาอาจไม่ทำให้เสพติดทางร่างกายเท่ากับสารเสพติดอื่น ๆ แต่ก็สามารถนำไปสู่การพึ่งพาได้ การเสพติดของ THC ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความถี่และปริมาณการใช้ ตลอดจนความไวต่อสารของแต่ละคน

จากการศึกษาพบว่าการใช้กัญชาเป็นประจำสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่สมองตั้งไว้ต่อพฤติกรรมของมนุษย์เรา นั่นคือเงื่อนไขการให้รางวัลและแรงจูงใจซึ่งอาจนำไปสู่การเสพติด นอกจากนี้ อาการถอน เช่น อาการหงุดหงิด วิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นได้หลังหยุดใช้ ยิ่งเน้นย้ำว่ากัญชาสามารถทำให้ติดได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกคนที่ใช้กัญชาจะมีอาการเสพติดกัญชา และหลายคนสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ THC ได้โดยไม่มีปัญหา

ความหมายของการติดกัญชาคืออะไร

การเสพติดกัญชา หมายถึง พฤติกรรมที่มีปัญหาที่เกิดจากการใช้กัญชาหรือผลิตภัณฑ์ที่มี THC  นำไปสู่การด้อยค่าหรือเกิดความทุกข์ทรมานในชีวิตของผู้ใช้ การเสพติดกัญชามีลักษณะเฉพาะ คือ มีความต้องการที่จะใช้กัญชาอย่างต่อเนื่องแม้จะมีผลในทางลบต่อร่างกาย อีกทั้งยังยากต่อการควบคุมหรือลดการใช้ และมักจะมีอาการถอนเมื่อหยุดหรือลดการใช้

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดกัญชา

การติดกัญชาเป็นหัวข้อที่ถูกถกเถียงซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจผิดมากมาย หนึ่งในข้อถกเถียงที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการเสพติดกัญชา คือ มันเสพติดได้จริงหรือไม่ บ้างก็ว่าการติดกัญชาไม่ใช่การเสพติดที่แท้จริงเพราะไม่มีอาการถอนทางร่างกายที่เหมือนกับยาเสพติดอื่น ๆ เช่น ฝิ่นหรือแอลกอฮอล์ แต่ความเข้าใจผิดนี้ก็ยังส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในอีกประเด็นหนึ่ง คือ การเสพติดกัญชาไม่ได้เป็นอันตรายเหมือนกับการเสพติดสิ่งอื่น ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น แม้ว่าการเสพติดกัญชาอาจไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นเดียวกับการเสพติดประเภทอื่น ๆ แต่ก็ยังสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายและการใช้ชีวิตของแต่ละคนได้ 

อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษาความผิดปกติของการใช้กัญชา

ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้

Cannabis Use Disorder (CUD) หรือความผิดปกติของการใช้กัญชา เป็นภาวะที่ผู้ป่วยประสบกับปัญหาการใช้กัญชาซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ รวมไปถึงหน้าที่การงาน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหานี้ ได้แก่ การเริ่มใช้กัญชาตั้งแต่อายุยังน้อย การใช้กัญชาบ่อย ๆ และมีประวัติครอบครัวใช้สารเสพติดผิดปกติ เป็นต้น

การวินิจฉัยและอาการทั่วไปของโรค

ตามเกณฑ์การวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต (DSM-5) ฉบับที่ 5 รูปแบบที่เป็นปัญหา คือ การใช้กัญชาซึ่งนำไปสู่ปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน เกิดความบกพร่องทางสังคม การงาน และการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ในการรับการวินิจฉัยความผิดปกติของการใช้กัญชา บุคคลต้องเข้าข่ายตามเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อภายในระยะเวลา 12 เดือน

  1. เสพกัญชาในปริมาณมากหรือนานกว่าที่ตั้งใจไว้
  2. มีความปรารถนาอย่างต่อเนื่อง หรือไม่สามารถลดหรือควบคุมการใช้กัญชาได้
  3. ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับกิจกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งกัญชา ใช้กัญชา หรือเพื่อฟื้นฟูจากผลข้างเคียงของมัน
  4. มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะใช้กัญชา
  5. เกิดความล้มเหลวในการปฏิบัติตามภาระหน้าที่หลักในที่ทำงาน โรงเรียน หรือที่บ้าน
  6. ใช้กัญชาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นปัญหาทางสังคมหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นซ้ำ ๆ 
  7. ยกเลิกนัด กิจกรรมทางสังคม การงาน หรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อใช้หรือหลังจากใช้กัญชา 
  8. ใช้กัญชาในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  9. ใช้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรู้ว่ามีปัญหาทางร่างกายหรือจิตใจ
  10. ร่างกายเริ่มสามารถต้านทานปริมาณกัญชา ทำให้ต้องใช้มากขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
  11. มีอาการถอนเมื่อลดปริมาณหรือหยุดใช้

ปัจจัยเสี่ยง

มีหลายปัจจัยที่จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดกัญชาและการพึ่งพากัญชา เช่น

  • การใช้กัญชาตั้งแต่อายุน้อย: การใช้กัญชาตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะก่อนอายุ 18 ปี จะไปเพิ่มความเสี่ยงในการติดกัญชาและสารเสพติดอื่น ๆ ได้ในภายหลัง
  • ความถี่และปริมาณการใช้: ผู้ที่ใช้กัญชาบ่อย ๆ และในปริมาณมาก ๆ จะมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การเสพติดได้
  • ปัญหาสุขภาพจิต: ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือ PTSD มีแนวโน้มที่จะใช้กัญชาเพื่อบำบัดอาการเหล่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเสพติดได้
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม: การใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่การใช้กัญชาเป็นเรื่องปกติ หรือเป็นที่ยอมรับของสังคมจะไปเพิ่มโอกาสในการเกิดการเสพติดได้
  • ปัจจัยส่วนบุคคล: ปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น ความเครียด ความบอบช้ำทางจิตใจ หรือการขาดการสนับสนุนจากหน่วยครอบครัวและสังคม

การบำบัดรักษา

ตัวเลือกการรักษาสำหรับความผิดปกติของการใช้กัญชา คือ การใช้ยา และการทำบำบัด เช่น กลุ่มบำบัด พฤติกรรมบำบัด การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) และการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (MET) ซึ่งกลวิธีเหล่านี้มักใช้ในการบำบัดการติดกัญชาโดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บุคคลรู้จักและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความเชื่อ และรูปแบบความคิดที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้กัญชา

ตัวเลือกการรักษาความผิดปกติของการใช้กัญชานั้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการและสถานการณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ควรปรึกษากับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อหยุดใช้กัญชา

เมื่อหยุดใช้กัญชาหรือ THC บางคนอาจเกิดอาการถอนได้ ซึ่งอาการถอนเหล่านี้ก็สามารถเกิดได้หลากหลายรูปแบบ และความรุนแรงก็มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลาของการใช้กัญชา

อาการเหล่านี้มักจะหนักสุดในช่วงสัปดาห์แรกหลังหยุดใช้กัญชา และอาจคงอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ บางคนอาจประสบปัญหาซึมเศร้าหรือไม่ค่อยมีสมาธิ ซึ่งก็อาจอยู่ได้นานหลายเดือน สิ่งสำคัญคือการถอนกัญชานั้นถือว่ารุนแรงน้อยกว่าการถอนยาอื่น ๆ แต่ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างท้าทาย การขอความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการด้านการแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะสามารถช่วยแก้ปัญหาอาการถอนและช่วยการฟื้นตัวในระยะยาวได้

อาการทั่วไปของการถอนกัญชา

หลังจากหยุดใช้กัญชา อาจมีอาการถอน เช่น

  • หงุดหงิด: ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของการถอนกัญชา 
  • นอนไม่หลับ: การหนุดใช้กัญชาอาจส่งผลถึงวงจรการนอนหลับ ซึ่งนำไปสู่ความเหนื่อยล้า ง่วงนอนตอนกลางวันได้
  • ความอยากอาหารเปลี่ยนไป: เนื่องจากสาร THC ส่งผลต่อความอยากอาหาร ดังนั้น เมื่อหยุดใช้อาจทำให้ความอยากอาหารลดลงหรืออยากอาหารเพิ่มขึ้นแล้วแต่บุคคล
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์: การถอนกัญชาอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย และกระสับกระส่าย
  • อาการทางร่างกาย: บางคนอาจมีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดหัว เหงื่อออก หนาว ๆ ร้อน ๆ และคลื่นไส้

ความรุนแรงและระยะเวลาของอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน และอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความถี่และปริมาณของการใช้ THC ตลอดจนอัตราการดูดซึมและเผาผลาญ รวมไปถึงพันธุกรรมของแต่ละคน

ระยะเวลาและความรุนแรงของการถอน

ระยะเวลาและความรุนแรงของการถอน THC นั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความถี่และปริมาณของการใช้ ความแตกต่างในการเผาผลาญ และความอ่อนไหวต่อสารของแต่ละคน รวมไปถึงยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสุขภาพของแต่ละคนด้วย

โดยทั่วไป อาการถอนยาอาจเริ่มขึ้นภายใน 2-3 วัน ไปจนถึง 1 สัปดาห์หลังจากหยุดใช้ และอาจมีอาการยาวนานหลายสัปดาห์มากกว่านั้น

ความรุนแรงของการถอนอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยบางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางคนอาจมีอาการรุนแรง อาการที่พบบ่อยที่สุด เช่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า และความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อระยะเวลาและความรุนแรงของการถอน เช่น วิธีการใช้ ภาวะสุขภาพจิตขณะและหลังใช้ รวมไปถึงประวัติการใช้สารเสพติดใด ๆ ก่อนหน้านี้อีกด้วย

การบำบัดรักษา

สำหรับการบำบัดรักษาอาการถอนกัญชาหรืออาการถอน THC สามารถทำได้ ดังนี้

  • การรักษาด้วยตนเอง: การรักษาด้วยตัวเองต้องอาศัยการฝึกนิสัยการดูแลตนเองที่ดีที่จะสามารถช่วยบรรเทาอาการถอนบางอย่าง เช่น การนอนหลับอย่างเพียงพอ ดื้มน้ำเยอะ ๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายเป็นประจำ
  • การบำบัด: การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) เป็นการบำบัดประเภทหนึ่งที่พบว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเอาชนะอาการถอนกัญชาได้ดี รวมถึงยังสามารถใช้ได้กับการถอนยาเสพติดชนิดอื่น ๆ อีกด้วย
  • การใช้ยา: ในบางกรณีอาจมีแพทย์หรือนักบำบัดอาจมีการสั่งยาเพื่อช่วยจัดการกับอาการถอน ตัวอย่างเช่น ยาแก้ซึมเศร้าหรือยาต้านความวิตกกังวลอาจใช้เพื่อรักษาความผิดปกติทางอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการถอนกัญชา เป็นต้น
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้

สรุป สาร THC คืออะไร ทำไมใช้แล้วเมา

THC เป็นสารประกอบในกัญชาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มมึนเมา โดยสารนี้จะไปทำปฏิกิริยากับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายเพื่อสร้างผลลัพธ์และเอฟเฟกต์ต่าง ๆ เช่น บรรเทาอาการปวด กระตุ้นความอยากอาหาร และช่วยให้นอนหลับได้ดี แม้ว่า THC จะมอบประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่ก็ยังสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงและผลข้างเคียงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เป็นเวลานานหรืออย่างหนักหน่วง 

ในการใช้ THC อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบนั้นถือเป็นสิ่งที่ผ๔้ใช้กัญชาทุกคนควรตระหนักถึง สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจปริมาณการใช้ที่เหมาะสม วิธีใช้ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ การเสพติดและการถอนสาร THC ในกัญชายังเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการทำให้กัญชาถูกกฎหมายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันของกฎหมายกัญชา ตลอดจนความท้าทายเกี่ยวกับการใช้กัญชา และการทำให้ถูกกฎหมายอย่างครอบคลุมอีกด้วย

เราสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่และนำผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุดที่ประเทศไทยมีให้มาให้คุณ

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม! คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม!
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้
ชวนรู้จักสารในกัญชา.. สาร THC คืออะไร? ทำงานอย่างไร พร้อมข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนใช้