ย้อนดูประวัติกัญชา กว่า 12,000 ปีกับเส้นทางจากจุดเริ่มต้นสู่ประเทศไทย
กัญชาเป็นพืชที่พบได้ในประเทศไทย และถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของกัญชามาช้านาน หลังจากได้มีการปลดล็อกกฎหมายกัญชาที่ผ่านมา ทำให้พืชนี้กลายเป็นพืชที่อาจกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ รวมไปถึงสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวงการแพทย์ในบ้านเราอีกด้วย
แต่ถึงแม้ว่าวิถีชีวิตคนไทยจะคุ้นเคยกับกัญชามาอย่างยาวนาน เชื่อว่าหลาย ๆ คนยังไม่ทราบกันมาก่อนว่ากัญชามาจากไหน และเข้ามาสู่ประเทศไทยได้อย่างไร สำหรับบทความนี้ เราได้รวบรวมประวัติกัญชาคร่าว ๆ เพื่อให้คุณผู้อ่านได้ศึกษาเส้นทางของพืชแสนมหัศจรรย์นี้กัน
เส้นทางกัญชา เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร
กัญชาได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเก่าแก่กว่ายุคสมัยอียิปต์และพิรามิดเสียอีก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแผ่ขยายไปทั่วโลกหลายพันปี บรรพบุรุษของเราต่างรู้กันดีว่าพืชชนิดนี้มีคุณประโยชน์มากมาย และไถูกนำมาใช้ทางด้านสุขภาพอย่างยาวนาน แต่เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์… เหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับกัญชานั้นกลับไม่ได้ถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด แต่ทั้งนี้ ผู้คนทุกยุคสมัยต่างก็ชื่นชอบพืชชนิดนี้กันอย่างปฏิเสธไม่ได้
ประวัติศาสตร์กัญชานั้น ได้ทำการศึกษากันผ่านการค้นพบ การศึกษา และการขุดค้นทางประวัติศาสตร์ พืชชนิดนี้ได้กลายมาเป็นพืชที่ผู้คนกล่าวถึงในหลากหลายประเทศทั่วโลกว่ามีสรรพคุณต่อร่างกายและจิตใจ
กัญชามีต้นกำเนิดมาจากเอเชียกลาง และไม่กี่พันปีถัดมา ก็ได้ถูกเผยแพร่ไปในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ผ่านการอพยพ การค้าขาย และทางการทหารในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในหน้าประวัติศาสตร์โลก
ประวัติกัญชาและจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นที่เอเชียกลาง
การบันทึกทางประวัติศาสตร์ล่าสุดพบว่ากัญชามีต้นกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 12,000 ปีก่อนคริสตกาลในแถบเอเชียกลาง โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาอัลไต ในปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้กลายเป็นพื้นที่รัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมกัญชาที่ดีที่สุดนั้นมาจากพื้นที่ภูเขา เช่น ฮินดูกูช
ด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้ชิดกันทำให้อาณาจักรและอารยธรรมในแคว้นต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับแถบเอเชียกลางกลายมาเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มแรก ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากกัญชา ทั้งทางฝั่งยูเรเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และอาหรับเอง ผ่านการเผยแพร่ทางการค้าและการเดินทางของผู้คนในยุคนั้นมาเป็นเวลากว่าพันปี
เหล่านักเดินทางเหล่านี้ใช้เส้นใยกัญชาในการนำมาถักทอเป็นเสื้อผ้าและเชือก อีกทั้งยังถูกนำมาทำอาหารและน้ำมัน นอกจากนี้ ยังได้มีการค้นพบว่าการใช้กัญชาในขณะที่กำลังร้อนจัดจะช่วยมอบประสบการณ์ที่ดี และถือเป็นกิจกรรมยามว่างเพื่อใช้ฆ่าเวลาในสมัยนั้น
อย่างไรก็ตาม กัญชาไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อฆ่าเวลายามว่างอย่างเดียวเท่านั้น มีการค้นพบว่ากัญชาสามารถช่วยรักษาโรคซึมเศร้า วิตกกังวล อาการปวดชา และช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ตามหลักฐานการบนทึกของจีนและอินเดีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คนในสมัยนั้นมีความรอบรู้ว่ากัญชามีประโยชน์หลากหลายประการอย่างไรบ้าง
แต่สิ่งที่น่าประทับใจยิ่งไปกว่านั้น คือ ผู้คนในยุคนั้นต่างก็รู้จักวิธีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้นกัญชามาใช้เพื่อให้ประโยชน์สูงสุด จึงเห็นได้ชัดว่ากัญชาได้รับความสนใจอย่างยิ่งตั้งแต่ยุคโบราณตามการบันทึกเรื่องราว ดังต่อไปนี้
“การขุดค้นทางโบราณคดีที่บริเวณใกล้กับเทือกเขา Flaming Mountains ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนในปัจจุบันเผยให้เห็นหลุมศพของมนุษย์โบราณ (ย้อนไปเมื่อ 750 ปีก่อนคริสตกาล) ข้าง ๆ ศพมีกัญชา 800 กรัม และเป็นกัญชาที่มีค่า THC ปริมาณสูง จากการวิเคราะห์เพิ่มเติมได้มีการรายงานว่าพืชชนิดนี้ได้รับการเพาะปลูกจากสายพันธุ์กัญชาที่คัดเลือกมาอย่างดีเพื่อให้มีค่า THC มากกว่ากัญชาที่ขึ้นทั่วไปตามป่า
จากหลักฐานการขุดพบนี้ทำให้เราทราบได้ว่า ผู้คนในสมัยนั้นก็ได้ทำการศึกษาพืชชนิดนี้และทำการเพาะปลูก โดยเน้นไปที่ตาและส่วนต่าง ๆ ของต้นเพศเมียและทิ้งต้นเพศผู้ไป เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ออกฤทธิ์ดีที่สุด“
เมื่อถึงยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเป็นยุคที่การค้าเฟื่องฟูระหว่างภูมิภาค รวมไปถึงมีการเดินเรือข้ามประเทศข้ามทวีปกันในยุคนี้ ซึ่งกัญชาก็ได้เผยแพร่ไปยังทวีปฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรป อเมริกา และแอฟริกา
การแพร่หลายของกัญชาสู่ประเทศไทย
มีความเชื่อกันว่ากัญชาเข้ามาสู่ประเทศไทยผ่านทางประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมทั้งไทยและอินเดียต่างเรียกพืชชนิดนี้ว่า “กัญชา” เหมือนกัน
ถึงแม้ว่าการแพร่หลายของกัญชาเข้ามาสู่ประเทศไทยนั้นยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด แต่เรารู้ดีว่ากัญชามีอยู่ในประเทศไทยมาหลายทศวรรษแล้ว โดยในอดีต พืชกัญชาได้ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตเส้นใยทั้งกับเชือกและเสื้อผ้า
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์จากกัญชง อย่างสิ่งทอต่าง ๆ ก็เป็นที่นิยมในประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน โดยนักมวยจะใช้ผ้าพันมือที่ทำมาจากกัญชงเพื่อป้องกันมือในขณะขึ้นชกมวย
คนไทยเราทราบถึงประโยชน์ของกัญชาในการช่วยลดความเจ็บปวด ความวิตกกังวล ความเครียด และทำหน้าที่เป็นเสมือนยาคลายกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดเป็นกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งคนชนชั้นแรงงานมักใช้พืชชนิดนี้ในการผ่อนคลายหลังจากทำงานเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน และสำหรับสตรีในยุคนั้นก็ใช้กัญชาเพื่อลดอาการเจ็บท้องคลอด
แต่ต่อมากัญชาได้กลายเป็นพืชผิดกฏหมายในประเทศไทย และมีการออกกฎหมายโดยมีการจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งการสั่งห้ามนี้ทำให้เกิดพระราชบัญญัติยาเสพติดในปัจจุบันและทำให้กัญชาเป็นพืชผิดกฎหมายไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีคนแอบใช้กัญชาอยู่ในช่วงที่กัญชาผิดกฎหมาย ทำให้มีข่าวการจับกุมการค้ากัญชาใต้ดินอยู่เรื่อย ๆ แต่ถึงแม้ว่าจะมีกฏหมายสั่งห้ามไม่ให้ครอบครองกัญชา แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบเนื่องจากกัญชาสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทยอยู่แล้ว และชาวบ้านต่างก็ยอมรับว่าพืชชนิดนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว
กัญชาในยุคสงครามเวียดนามจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงสงครามเวียดนาม (ปี 1960-1975) สหรัฐฯ ใช้ไทยเป็นฐานทัพบังคับกองบินที่ใช้ในสงคราม จึงทำให้ไทยในยุคนั้นเต็มไปด้วยทหารอเมริกันมากมาย นอกจากนี้ บางพื้นที่ในไทยยังหลายเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของเหล่าทหารเมื่อยามที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย
ในช่วงที่ทหารสหรัฐฯ อยู่ในประเทศไทย เหล่าทหารเหล่านี้ได้มีโอกาสลิ้มรสประสบการณ์จากการใช้กัญชาในยามว่างเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ยุคฮิปปี้ครองเมืองในฝั่งตะวันตกและอเมริกา มีการเรียกร้องให้ยุติการทำสงครามเวียดนาม ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งว่าทำไมวัฒนธรรมฮิปปี้ถึงให้ความสำคัญกับกัญชาเป็นอย่างมาก
ทั้งเหตุการณ์ทหารอเมริกันตั้งฐานในไทย และเหตุการณ์ฮิปปี้เรียกร้องสันติภาพในวงครามเวียดนาม ทำให้เกิดการแพร่ขยายวัฒนธรรมกัญชาสู่ประเทศไทย โดยผู้ประกอบการในยุคนั้นมักขายกัญชาให้กับทหารอเมริกันในรูปแบบมวนบุหรี่ ก่อนจะมีการดัดแปลงแปรรูปมาเป็นรูปแบบอื่น ๆ และนี่คือเหตุผลหลักว่าทำไมบ้องไทยถึงโด่งดังมากในสายตาชาวโลก! โดยคำว่า ‘บ้อง’ ที่ใช้ ๆ กันทั่วโลกนี้เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากคำว่า ‘bhaung’ ของไทยซึ่งแปลว่าท่อน้ำไม้ไผ่ที่ชาวบ้านนำมาใช้สูบกัญชา
ในช่วงสงครามยุคนั้น ทหารสหรัฐฯ ชื่นชอบกัญชาเป็นอย่างมาก ถึงขนาดนำกลับบ้านเกิดไปเผยแพร่ที่อเมริกา ทำให้ความต้องการทางตลาดของสหรัฐนั้นมีมากขึ้น และด้วยความความต้องการบวกกับตลาดเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้อุตสาหกรรมกัญชาเฟื่องฟูในมากในไทยยุคนั้น ประกอบกับภูมิศาสตร์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และสภาพแวดล้อมที่ดีเยี่ยมของบ้านเรา (โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ) ทำให้มีการปลูกพืชกัญชาที่มีคุณภาพมากมาย และกลายเป็นแหล่งผลิตกัญชาคุณภาพของโลก
และด้วยคุณภาพและชื่อเสียงระดับโลก ทำให้เกิดการลักลอบกัญชาจากไทยไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ โดยมีแก๊งค้ากัญชาลักลอบส่งออกกัญชาหลายพันกิโลกรัมทุกปี ทำให้คนในประเทศได้มีโอกาสได้ใช้และเพลิดเพลินกับพืชชนิดนี้ และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ผลิตกัญชารายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กฎหมายกัญชาในปัจจุบันและในอนาคต
กัญชาเป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศไทย โดยในช่วงทศวรรษ 1980 สหรัฐฯ ทุ่มสุดตัวในการทำสงครามยาเสพติด เพื่อให้นำเข้าสารเสพติดต่าง ๆ จากประเทศในแถบตะวันออกเป็นสิ่งที่ผิด ซึ่งกัญชาก็เป็นหนึ่งในสารเสพติดที่เป็นที่ต้องการอย่างมากทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยฝั่งที่เลือกข้างอเมริกาเข้าร่วมการทำสงครามยาเสพติดกับอเมริกาในครั้งนี้ ส่งผลให้กฏหมายเกี่ยวกับสารเสพติดเข้มงวดมากขึ้น ผู้คนต่างระวังเรื่องการใช้สารเสพติดกันมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีการใช้กัญชากันอยู่จนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายกัญชาได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยประเทศไทยได้ปลดล็อกกฎหมายกัญชาออกจากรายชื่อสารเสพติดเนื่องจากกัญชาสามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ โดยไทม์ไลน์การปลดล็อกกัญชา มีดังนี้
- ประเทศไทยปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์ให้สามารถใช้เพื่อทางการแพทย์ได้อย่างถูกกฎหมายในปี พ.ศ. 2562
- มีการแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดในปีถัดมา ซึ่งทำให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีสาร cannabidiol (CBD) ถูกกฎหมายในประเทศ และสามารถหาซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ CBD ได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ อย่างไรก็ตาม การใช้สาร THC ยังคงผิดกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นการใช้เพื่อรักษาโรคหรือใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ
- ประชาชนชาวไทยสามารถปลูกพืชกัญชาได้ แต่จะไม่สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสันทนาการได้ โดยดอกกัญชาต้องถูกส่งไปยังรัฐเพื่อตรวจสอบปริมาณสาร THC (สารออกกฤทธิ์ต่อจิตประสาท) ให้ไม่เกิน 0.2% เมื่อเทียบกับน้ำหนัก
มาถึงตอนนี้ หลาย ๆ คนได้มีโอกาสทดลองใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมาย โดยบางคนใช้เพื่อให้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทั้งในแง่ของความผ่อนคลายและสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยในไทยมากมายที่กำลังศึกษาประโยชน์ของกัญชา… สิ่งต่าง ๆ กำลังมีการเปลี่ยนแปลง และหวังว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในการยอมรับจะควบคุมการใช้กัญชาได้เช่นเดียวกับประเทศทางฝั่งตะวันตก